ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

"ความห่วงใยความปลอดภัยของเด็กไทย ไม่ใช่การทำลายตลาดข้าวไทย"


 "ความห่วงใยความปลอดภัยของเด็กไทย ไม่ใช่การทำลายตลาดข้าวไทย" 
      

        หลังจากคุณเช็ค สุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ แห่งคนค้นคน เดินทางไปเยี่ยมชมกระบวนการผลิตข้าวตราฉัตร ที่ อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา แล้ว และคุณเชค ไปออกรายการทีวีเจาะใจ ที่คุณสัญญา คุณากร เปิดเวทีให้ "เคลียร์ความจริง" และ "เคลียร์ใจ" กันเสร็จเรียบร้อย เมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมา (18 ก.ค. 56) มีการขอโทษขอโพยคณะผู้บริหารฯ พร้อมทั้งขอโทษเจ้าของข้าวตราฉัตร และ เจ้าของข้าวเบญจรงค์ ที่ตนเองเคยพูดพาดพิงไปแล้ว

        ดูเหมือนว่า..ข้าวทุกยี่ห้อในประเทศไทยจะใสสะอาด ปราศจากสารเมทิล โบรไมด์ ไปพร้อมๆ กับรายการเจาะใจไปด้วย

        สื่อมวลชนบางส่วนอาจเกิดความระวังตัว ไม่เกาะติดข่าว ไม่ตามประเด็นเรื่องข้าวสารถุงที่ขายในประเทศกันเท่าที่ควร

        สื่อมวลชนบางส่วนอาจจะกลัวการผิดพลาด ทำ "ปืนลั่น" เหมือนคุณเชค

        ข้าวตราฉัตร กับ ข้าวเบญจรงค์ ประชาชนไม่กังวลใจหรอกครัย..แต่ข้าวยี่ห้ออื่นๆ ที่กำลังซื้อมาบริโภคกันอยู่ ผลการตรวจจะเป็นอย่างไรยังไม่ทราบ..??

         เราต้องไม่ลืมว่าคนที่บริโภคข้าวสารถุง ไม่ได้มีแค่คนโตๆ ที่ร่างกายแข็งแรงกว่า และมีภูมิต้านทานสูงเท่านั้น..แต่เรายังมีเด็กเล็ก 3-4 ขวบขึ้นไปที่ต้องกินข้าวถุงเช่นเดียวกับเรา ถึงแม้จะเด็กโตก็ใช่ว่าจะสามารถต้านทานสารพิษปนเปื้อนได้

         จึงรอฟังลผลสุ่มตรวจของหน่วยงานภาครัฐ เช่น  อย. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และกรมวิชาการเกษตร..หากทราบผลเมื่อไหร่ ขอความกรุณาแจ้งให้ประชาชนทราบด้วย จะเป็นพระคุณอย่างยิ่งครับ

         "ความห่วงใยสุขภาพและความปลอดภัยของเด็กไทย ไม่ใช่การทำลายตลาดข้าวไทย" 

          หากข้าวสารถูกตรวจพบว่ามีสารพิษเมทิล โบรไมด์ตกค้างจริง คนทำลายภาพลักษณ์ข้าวไทย และทำลายตลาดข้าวไทย ไม่ใช่เอกชนที่มาช่วยตรวจ ไม่ใช่หน่วยงานรัฐที่ตรวจ ไม่ใช่ประชาชนที่เรียกร้องถามหา "ความปลอดภัย" และไม่ใช่สื่อมวลชนผู้นำเสนอข่าวสารข้อเท็จจริง..หากแต่เป็น "คนที่ทำให้สารพิษเมทิล โบรไมด์ ตกค้างในข้าวสาร" ต่างหาก 

           สังคมไทยต้องไม่สับสนทางความคิด

          ปล.พรุ่งนี้วันพระใหญ่ มะรืนวันเข้าพรรษา ของดเรื่องที่ทำให้จิตใจเศร้าหมองทั้งปวง ทำความดี ละความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส ตามคำสอนของพระพุทธองค์ครับ

           รองศาสตราจารย์ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน
           21 กรกฎาคม 2556

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค