ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

จำนำข้าว เครื่องวัดความชื้นข้าว กับชาวนาไทย สัญญะแห่งอำนาจและความเหนื่อยใจในการทำนา

จำนำข้าว เครื่องวัดความชื้นข้าว กับชาวนาไทย สัญญะแห่งอำนาจและความเหนื่อยใจในการทำนา

        การใช้อำนาจที่เกี่ยวข้องกับชาวนาและการทำนา สะท้อนให้เห็นจาก การใช้อำนาจผ่าน "เครื่องวัดความชื้นข้าว" อำนาจที่ชาวนาคนไหนก็ไม่อาจปฏิเสธได้ เจ้าของโรงสีบอกว่า "ชื้นเท่าไหร่" ก็ต้อง "ชื้นเท่านั้น" ชาวนาไร้สิทธิ ไร้อำนาจต่อรอง ใดๆ ทั้งสิ้น จะได้ราคาจำนำเท่าไหร่ขึ้นอยู่กับ "ความชื้น" จะได้ 15,000 บาท 14,000 บาท 13,000 บาท 12,000 บาท 11,000 บาท ขึ้นอยู่กับท่านเจ้าของโรงสี รัฐก็จะเชื่อคำพูดของโรงสีเป็นหลัก โรงสีบอกว่าชื้นเท่าไหร่ รัฐก็จ่ายเท่านั้น
     
        ในที่นี้ "เครื่องวัดความชื้นข้าว" จึงมีสถานะเป็น สัญญะแห่งอำนาจของนายทุนและรัฐ

        การบังคับใช้นโยบายจำนำข้าว 15,000 บาท..รัฐบาลประกาศล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 1 ปี..ดังนั้นการยกเลิกการบังคับใช้จำนำข้าวที่ราคา 15,000 บาท..รัฐบาลควรบอกกล่าวล่วงหน้า ไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ 2-3 ฤดูกาลทำนา เพื่อให้ชาวนาตั้งตัวทัน..ผมเสียใจที่รัฐบาลประกาศยกเลิก และดีใจที่รัฐบาลกลับลำทัน..!! หากจะเปลี่ยนก็ควรรีบประกาศตั้งแต่ตอนนี้..และหานโยบายอื่นมาสนับสนุนเพิ่มเติม..ต้นทุนค่าแรงขั้นต่ำขึ้นไปเป็น 300 บาทแล้ว ชาวนาลำบากหากลดเฉพาะราคาจำนำข้าว..ที่พูดนี้ไม่ใช่ในนามนักวิชาการอะไรทั้งนั้น..แต่พูดในนามลูกชาวนา

        ที่บ้านผม "ทำนาแบบออฟไลน์" ไม่ได้ทำนาแบบออนไลน์ !!
        "ทำนาแบบออฟไลน์" ซึ่งหมายความว่า ทำนากันในแปลงนาจริงๆ ไม่ใช่ทำนาในกระดาษ ในการวิจัยเป็นเอกสาร หรือทำนาโดยการวิเคราะห์ วิจารณ์กันในสื่อออนไลน์ ซึ่งแบบนั้นเขาเรียกว่า "ทำนาแบบออนไลน์"
        จึงไม่ได้แค่วิจารณ์ แต่เพราะที่บ้านงานหนักสาหัสจริงๆ ค่าแรงขัั้นต่ำ ค่าครองชีพขั้นต้น ที่วัดจากราคาหมูต่อกิโล ราคาผักต่อกิโล ราคาข้าวผัดกะเพราต่อจาน ราคาก๋วยเตี๋ยวต่อชาม (35-45บาท) และราคาน้ำมันที่ขึ้นไปสูงมาก ต้นทุนโดยรวมสูงมาก

        ขอเล่าปัญหาและข้อเสนอแนะจากชาวนาให้ท่านผู้เกี่ยวข้องฟัง ดังนี้
        1. ไม่ต้องตั้งกรรมการแก้ปัญหา เบิกค่าเบี้ยประชุมครั้งละ 3,000 ต่อคน
        2. ไม่ต้องตั้งงบประชาสัมพันธ์ 100 ล้านบาท เพื่ออธิบายเรื่องจำนำข้าว ผ่านทีวีนาทีละ 3 แสน เพราะชาวนาทำงานทั้งปียังไม่เคยมีเงิน 3แสน ที่หายวับไปแค่ฟังอะไร 1 นาที
        3. ช่วยบอกโรงสีให้สงสารชาวนามากกว่านี้หน่อย "เครื่องตรวจวัดความชื้นข้าว" นี่แหละคือตัวแทน "อำนาจที่แท้จริง" ในการกำหนดราคาข้าว อำนาจนี้อยู่ในกำมือของเจ้าของโรงสี ความชื้นเปลี่ยน ราคาข้าวเปลี่ยน..ทันที
        4. โรงสีกับรัฐบาลไม่ควรทำตัวสนิทกันจนเกินไป จนชาวนาสงสัย นโยบายจำนำข้าวในรอบปีที่ผ่านมา โรงสีขยายพื้นที่อีกสองสามเท่าตัว กว้านซื้อที่ดินโดยรอบหมดอีกเป็นร้อยไร่ เพราะอะไร ?

         พูดจากใจลูกชาวนา กับ ราคาจำนำข้าว 15,000 บาท ที่รัฐบาล โดยคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ ปรับราคาจำนำกลับไปเท่าเดิมในวันนี้ ขอบอกว่า "เหนื่อยครับ"

         ชาวนาถลำไปแล้ว เช่านาไปแล้ว กู้เงินซื้อพันธ์ข้าวเปลือกไปแล้ว
         หลายคนดำนาไปแล้ว หลายคนหว่านข้าวไปแล้ว
         คราวนี้ชาวนาจะทำอย่างไร..เมื่อเห็นการขาดทุนรออยู่ข้างหน้า ตั้งแต่ยังไม่ได้เกี่ยวข้าว !!
         แล้วจะเอาเงินที่ไหนไปใช้หนี้เถ้าแก่

          เหนื่อยใจจริงๆ

          ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน
          1 กรกฎาคม 2556

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค