ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

อำนาจที่ 6 อำนาจแห่งเทคโนโลยีการสื่อสาร กับ การสร้าง "อำนาจทางความรู้สึก"

อำนาจที่ 6

หากเราแบ่งโครงสร้างอำนาจออกเป็น 5 ส่วน ได้แก่ 
(1) อำนาจทางเศรษฐกิจ 
(2) อำนาจทางการเมือง 
(3) อำนาจทางการทหาร 
(4) อำนาจแห่งความเชื่อถือศรัทธาในศาสนา 
(5) อำนาจทางวัฒนธรรม

ส่วนที่ว่าอำนาจใดจะมีอิทธิพลต่อสังคมมากน้อยกว่ากันอย่างไร ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของประเทศ สถานการณ์โลก และบริบททางสังคมในแต่ละยุคสมัย


        ในบรรดาอำนาจทั้ง 5 อำนาจ อำนาจทางการทหาร จัดเป็นอำนาจทีี่ชัดเจนในทางกายภาพ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา
        แต่ในโลกยุคใหม่ ยุคสมัยที่อำนาจเศรษฐกิจมีอิทธิเหนืออำนาจอื่น มีอิทธิพลเหนืออำนาจการเมือง มีอิทธิพลเหนืออำนาจทางการทหาร และมีอิทธิพลเหนือแม้กระทั่งอำนาจแห่งความเชื่อทางศาสนา แต่หาใช่อำนาจเศรษฐกิจเพียงลำพังที่ผูกขาดอำนาจไว้แต่เพียงผู้เดียว หากแต่ยังมีสิ่งที่เราเรียกกันว่า "เทคโนโลยีการสื่อสาร" (communication technology) ปรากฏตัวขึ้น แผ่อิทธิพลออกไปอย่างรวดเร็ว และอย่างเหลือเชื่อ
เทคโนโลยีการสื่อสาร แล้วยังขยายอิทธิพลไปยังอำนาจอื่นทุกอำนาจ เป็นเครื่องมือสนับสนุนการรักษาอำนาจของตนไว้อย่างแน่นเหนียว 
         เทคโนโลยีการสื่อสารได้แผ่ขยายอิทธิพลออกไปมากขึ้นๆๆ 
         จนกระทั่ง สถาปนาตัวเองเป็น "อำนาจใหม่" เป็น "อำนาจที่ 6"
         อำนาจที่ 6 ทำให้ ผู้คนในสังคมติดต่อสื่อสารกันได้ตลอดเวลา
         อำนาจที่ 6 ทำให้ ผู้คนในสังคมแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้ตลอดเวลา
         อำนาจที่ 6 ทำให้ ผู้คนในสังคมเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสารได้โดยตรง และด้วยตนเอง
         อำนาจที่ 6 ทำให้ ผู้คนในสังคมสามารถเรียนรู้ทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ และปรากฏการณ์ต่างๆ ได้ด้วยตนเอง
         อำนาจที่ 6 ทำให้ ผู้คนในสังคมเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง แก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง พัฒนาสิ่งต่างๆ ได้ด้วยตนเอง
         อำนาจที่ 6 ทำให้ ผู้คนในสังคมชาญฉลาดขึ้น รู้เท่าทันมากขึ้น
         อำนาจที่ 6 ทำให้ ผู้คนในสังคมมีอำนาจต่อรองมากขึ้น
         จนกล่าวได้ว่า
         อำนาจที่ 6 ทำให้ ผู้คนในสังคมมีอำนาจมากขึ้น

          อย่างไรก็ดี ขณะที่เรากำลังชื่นชมในอำนาจของเทคโนโลยีการสื่อสารในฐานะอำนาจใหม่ 
หากใครได้ครอบครองแล้วจะกลายเป็นผู้ทรงอิทธิพลขึ้นมาทันที เพราะอะไร
        เพราะการที่จะทำให้อำนาจที่ 6 มีอำนาจจริงๆ ยังต้องอาศัยองค์ประกอบสำคัญอีกอย่างน้อย 3 องค์ประกอบ คือ
        (1) คุณภาพของผู้คน
        (2) ความรู้ของผู้คน
        (3) ทักษะความสามารถในการใช้เทคโนโลยีของผู้คน
         องค์ประกอบทั้งสามนี้ จะส่งผลโดยตรงต่อความเข้มแข็งของอำนาจที่ 6
        หากระดับศักยภาพขององค์ประกอบทั้งสามนี้มีไม่มากพอ อำนาจนี้ก็ไร้ความหมาย
         เมื่อพิจารณาองค์ประกอบทั้งสามข้างต้น ร่วมกับข้อเท็จจริงที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งรวมประเทศไทยด้วยแล้ว
         เอาเข้าจริง อำนาจที่ 6 คือ อำนาจเทคโนโลยีสื่อสารนี้ อาจเป็นเพียง  "อำนาจทางความรู้สึก"  เท่านั้น
        หาได้มีพลานุภาพด้วยตนเองอย่างที่ควรจะเป็นไม่ 
นอกจากไม่ได้มีอิทธิพลทางบวกกับผู้คนแล้ว อำนาจใหม่นี้กลับมีอิทธิพลทั้งทางบวกและทางลบในเวลาเดียวกัน
นั่นก็คือ การเข้าไปมีอิทธิพลครอบงำ ความเป็นไปของผู้คนอย่างคาดไม่ถึง

         สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ด้วยความเติบโตของอำนาจเทคโนโลยีสื่อสารที่เป็นไปอย่างก้าวกระโดด 
          ทำให้อำนาจเทคโนโลยีสื่อสารเข้าไปมีอิทธิพลในการกำหนดวิถีชีวิตของผู้คน 
           ให้เป็นอย่างไร อยู่อย่างไร กินอย่างไร แต่งตัวอย่างไร ออกกำลังกายอย่างไร 
           ใช้เวลาในชีวิตอย่างไร ดำเนินชีวิตอย่างไร ต่อสู้ชีวิตอย่างไร เอาชนะอุปสรรคอย่างไร
           รวมทั้งการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คนรอบข้าง ว่าจะปฏิสัมพันธ์กันอย่างไร 
           พูดจากันอย่างไร คบหากันอย่างไร ค้าขายกันอย่างไร
           เกือบทุกสิ่งทุกอย่างในวิถีชีวิตของผู้คน "เทคโนโลยีการสื่อสาร" 
           ได้เข้าไปมีบทบาทในการกำหนดชีวิตเรามากขึ้นทุกขณะ

         เมื่อขาดเสียซึ่งองค์ประกอบสำคัญ 3 องค์ประกอบข้างต้นแล้ว
        อำนาจที่ 6 อันได้แก่ อำนาจของเทคโนโลยีการสื่อสาร 
        ก็จะมีสถานะเป็นเพียง "อำนาจทางความรู้สึก" เท่านั้น

        หาได้มี "อำนาจ" ในตัวเอง อย่างที่เราเห็นและเชื่อในขีดความสามารถและประสิทธิภาพในการสื่อสาร
ทั้งด้านความรวดเร็ว ความครอบคลุม ความสามารถในการทำสิ่งที่มนุษย์ไม่สามารถทำได้หลายอย่าง
        เพราะนั่นเป็นเพียงศักยภาพของ เครื่องมืออุปกรณ์ (devices) และ ระบบ (system) เท่านั้น
        
         มองไปก็คล้ายกับ "อำนาจทางการทหาร" ของประเทศไทยในปัจจุบัน
         ที่ดูเสมือนว่า จะเข้าข่ายเป็น "อำนาจทางความรู้สึก" มากขึ้นทุกวัน

         ด้วยความอ่อนแรง ความอ่อนล้า การขาดความเข้มแข็ง ของพลเมืองไทย
         อำนาจใหม่นี้ยังไปกัดเซาะ อำนาจทางวัฒนธรรม ให้กลายเป็น "อำนาจทางความรู้สึก" ไปแล้วเช่นกัน

         อำนาจที่ 6 อำนาจแห่งเทคโนโลยีการสื่อสาร ที่ดูเหมือนจะไม่มีอำนาจ เรืองแสงได้ด้วยตนเอง
         แต่กลับมีพลานุภาพกดทับให้อำนาจอื่นๆ ทั้งอำนาจทางเศรษฐกิจ อำนาจทางการเมือง 
         อำนาจทางการทหาร อำนาจทางวัฒนธรรม และอำนาจแห่งความเชื่อทางศาสนา
         ..อ่อนเปลี้ยเพลียแรงลงอย่างเห็นได้ชัด..
         ..และกำลังลดศักยภาพแห่งอำนาจในตนเองลง..
         ..จนเกือบจะเหลือเพียง..
           "อำนาจทางความรู้สึก" เท่านั้น

          รองศาสตราจารย์ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน
          12 กรกฎาคม 2556

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค